อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทแนวโน้ม “แข็งค่า” อาจได้แรงหนุนจากโฟลว์ขายทำกำไรทองคำ หลังจากที่ราคาทองคำรีบาวด์ขึ้นใกล้ระดับ 1,800 ดอลลาร์ต่อออนซ์

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท เปิดเช้านี้ ที่ระดับ 33.41 บาทต่อดอลลาร์ “แข็งค่า” ขึ้นเล็กน้อย จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 33.425 บาทต่อดอลลาร์

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดเงิน ธนาคารกรุงไทยระบุแนวโน้มค่าเงินบาท เรามองว่า เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย ตามการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ นอกจากนี้ เงินบาทอาจได้แรงหนุนจากโฟลว์ขายทำกำไรทองคำ หลังจากที่ราคาทองคำรีบาวด์ขึ้นใกล้ระดับ 1,800 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (โฟลว์ขายทำกำไรทองคำ มักจะช่วยหนุนให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น) ส่วนในฝั่งฟันด์โฟลว์นักลงทุนซื้อหวยออนไลน์ถูกกฎหมายมั่นใจได้ต่างชาติ เราเริ่มเห็นสัญญาณการกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยเพิ่มเติมสะท้อนผ่านแรงซื้อสุทธิหุ้นไทยกว่า 4.7 พันล้านบาท ในวันก่อนหน้า ขณะที่โฟลว์เก็งกำไรเงินบาทผ่านการซื้อบอนด์ระยะสั้นยังมีความไม่ชัดเจนอยู่ ซึ่งคาดว่า ผู้เล่นต่างชาติอาจยังไม่รีบกลับมาเก็งกำไรเงินบาทมากนัก จนกว่าจะมีความชัดเจนของโฟลว์ธุรกรรม M&A ใหญ่ในปีนี้ ว่าจะมีลักษณะการทำธุรกรรมอย่างไร

นอกจากนี้ เราคงมองว่า ในเชิงเทคนิคัลยังคงสนับสนุนแนวโน้มการแข็งค่าขึ้นของเงินบาทในระยะสั้น โดยส่วนแนวรับเงินบาทยังคงอยู่ในโซน 33.30 บาทต่อดอลลาร์ ส่วนแนวต้านเงินบาทจะอยู่ที่ระดับ 33.50 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับอ่อนค่าสุดของเงินบาทในช่วงก่อนรับรู้การประชุมเฟดที่ผ่านมา ย้ำว่าระดับดังกล่าวยังเป็นแนวต้านที่สำคัญในระยะสั้น

มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 33.35-33.45 บาท/ดอลลาร์

บรรยากาศในตลาดการเงินฝั่งสหรัฐฯ พลิกกลับมาอยู่ในโหมดระมัดระวังตัวอีกครั้ง หลังจากแนวโน้มการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดของเฟด โดยเฉพาะการเร่งลดการอัดฉีดสภาพคล่องหรือคิวอี ส่งผลให้ผู้เล่นในตลาดเลือกที่จะเทขายหุ้นในกลุ่มเทคฯ หรือหุ้นสไตล์ Growth ที่มีระดับราคาที่สูงและอ่อนไหวกับนโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น อาทิ Adobe -10.2%, Nvidia -6.8%, Tesla -5.0% เป็นต้น ส่งผลให้ ดัชนี Nasdaq ปิดตลาด -2.47% และดัชนี S&P500 ก็ย่อตัวลง -0.87%

ขณะที่ในฝั่งยุโรป แนวโน้มการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ที่มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายสู่ระดับ 0.25% สวนทางกับที่ตลาดคาดการณ์ รวมถึง การทยอยลดการอัดฉีดสภาพคล่องของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้ช่วยหนุนให้ หุ้นในกลุ่มการเงินปรับตัวสูงขึ้นตามแนวโน้มนโยบายการเงินที่จะมีความเข้มงวดมากขึ้นในอนาคต อาทิ Santander +4.1%, BNP Paribas +1.9%, Intesa Sanpaolo +1.9% หนุนให้ดัชนี STOXX50 ของยุโรป ปรับตัวขึ้นราว +1.0% นอกจากนี้ ตลาดหุ้นยุโรปยังได้แรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของหุ้นกลุ่ม Cyclical อื่นๆ นอกเหนือจากกลุ่มสถาบันการเงิน เพราะการที่ธนาคารกลางส่งสัญญาณใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดในช่วงที่ยุโรปเผชิญการระบาดของโอมิครอน สะท้อนว่าธนาคารกลางต่างมองว่า การระบาดของโอมิครอนจะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจอย่างรุนแรง เหมือนกับช่วงเกิดการระบาดของ COVID-19 ระลอกแรก หรือช่วง Delta wave

ทั้งนี้ นักลงทุนควรระวังความผันผวนในตลาดการเงินช่วงวันศุกร์ (Witching Friday) เพราะจะเป็นวันที่ตราสารอนุพันธ์ ทั้ง Options และ Futures ของหุ้นรายตัวและดัชนีหุ้นในฝั่งสหรัฐฯ มีการครบกำหนด ซึ่งอาจทำให้ผู้เล่นในตลาดมีการปรับสถานะการถือครองและส่งผลให้ราคาสินทรัพย์อ้างอิงหรือราคาหุ้นมีความผันผวนสูงขึ้นได้

ส่วนทางด้านฝั่งตลาดบอนด์ แนวโน้มตลาดกลับมาอยู่ในภาวะระมัดระวังตัวมากขึ้น ส่งผลให้ผู้เล่นในตลาดต่างต้องการที่จะถือสินทรัพย์ปลอดภัยเพื่อหลบความผันผวน แม้ว่าเฟดจะส่งสัญญาณใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น แต่ก็เป็นสิ่งที่ตลาดรับรู้ไปพอสมควรแล้ว ทำให้บอนด์ยีลด์10 ปี สหรัฐฯ ปรับตัวลง 5 bps สู่ระดับ 1.41% ทั้งนี้ เรายังเชื่อว่า บอนด์ยีลด์ระยะยาวยังมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นต่อในอนาคต จากภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการทยอยใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดของบรรดาธนาคารกลาง

ในฝั่งตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงต่อเนื่อง หลังจากที่ตลาดรับรู้ผลการประชุมเฟดที่ไม่ได้ผิดคาดไปมากนัก นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ยังได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของเงินปอนด์ (GBP) และเงินยูโร (EUR) หลัง BOE ประกาศขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ส่วน ECB ก็เลือกที่จะทยอยลดการทำคิวอีเช่นเดียวกับเฟด ส่งผลให้ล่าสุดดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY Index) ปรับตัวลงใกล้ระดับ 96 จุด นอกจากนี้ การอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ รวมถึงภาวะปิดรับความเสี่ยงของตลาดยังได้ช่วยหนุนให้ ราคาทองคำสามารถรีบาวด์กลับขึ้นมาใกล้ระดับ 1,800 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้อีกครั้ง อย่างไรก็ดี เรามองว่า แนวโน้มนโยบายการเงินที่เข้มงวดของเฟด รวมถึง ภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาดจะกดดันให้ ราคาทองคำปรับตัวขึ้นต่อแรงได้ยาก และ Upsides ของราคาทองคำเริ่มจำกัด

สำหรับวันนี้ ตลาดจะรอลุ้นผลการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ซึ่งคาดว่าทาง BOJ จะเดินหน้าใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อ ทั้งเดินหน้าการซื้อสินทรัพย์หรือทำคิวอี พร้อมทั้งคงเป้าหมายบอนด์ยีลด์ 10 ปี ไว้ที่ระดับ 0.00% และ คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ -0.10% เพื่อช่วยหนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจญี่ปุ่น ซึ่งแนวโน้มการเดินหน้าใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อเนื่องของ BOJ ซึ่งสวนทางกับการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นของเฟด จะกดดันให้ เงินเยนของญี่ปุ่น (JPY) มีแนวโน้มอ่อนค่าสู่ระดับ 114-115 เยนต่อดอลลาร์ ได้ และทำให้จังหวะที่ตลาดผันผวนหรือปิดรับความเสี่ยงเป็นแรงหนุนการแข็งค่าในระยะสั้นต่อเงินเยน ตามความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย

 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่าอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทยังคงเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ หลังเปิดตลาดเช้านี้ โดยปรับตัวอยู่ที่ระดับประมาณ 33.37-33.42 บาทต่อดอลลาร์ฯ แข็งค่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดวานนี้ที่ 33.42 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาทแข็งค่าขึ้น ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ ยังคงเผชิญแรงขายต่อเนื่องหลังจากข้อมูลจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และดัชนี PMI ของสหรัฐฯ ออกมาอ่อนแอกว่าที่ตลาดคาด และกดดันบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ให้ร่วง นอกจากนี้เงินดอลลาร์ฯ ยังมีแรงกดดันเพิ่มเติม โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับเงินปอนด์ที่ได้รับอานิสงส์จากการที่ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเหนือการคาดการณ์ของตลาด

 

สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ คาดไว้ที่ 33.35-33.50 บาทต่อดอลลาร์ฯ ปัจจัยที่ต้องติดตาม ได้แก่ ผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ทิศทางเงินทุนของต่างชาติ และสถานการณ์โควิด-19